ความหมายของวรรณคดีโดยวรรณคดีสโมสร
….พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ใช้คำว่าวรรณคดีเป็นครั้งแรกและได้กำหนดลักษณะวรรณคดีว่า
๑. เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือ ไม่เป็นเรื่องทุภาษิตหรือเป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดของผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสารหรือ ซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวายไปในทางการเมืองอันจะเป็นเครื่องรำคาญแก่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนี้เป็นต้น
๒. เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใดๆก็ตามแต่ต้องเป็นภาษาไทยอันดีถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาลหรือในปัจจุบันกาลก็ได้
ในพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ได้กำหนดหนังสือดีและแต่งดีไว้ ๕ ประเภท คือ
๑. กวีนิพนธ์ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
๒. ละครไทย คือ แต่งเป็นกลอนแปดมีกำหนดหน้าพาทย์
๓. นิทาน คือ เรื่องราวอันผูกขึ้นและแต่งเป็นร้อยแก้ว
๔. ละครพูด
๕. คำอธิบาย (คือ เอสเสย์และแปมเฟลท) แสดงด้วยศิลปวิทยาหรือกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง(แต่ไม่ใช่ตำราหรือแบบเรียนหรือความเรียงเรื่องโบราณคดีมีพงศาวดาร เป็นต้น) ให้นับว่าเป็นหนังสือที่ควรพิจารณาในวรรณคดีสโมสรตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
ในอดีตเรานั้นมีวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรรัชกาลที่ ๖ หรือบางทีเรียกว่า “ยอดของหนังสือ” ที่แต่งดีในแต่งละประเภท ดังนี้
๑.ลิลิตพระลอ เป็นยอดของลิลิต
๒.ฉันท์สมุทรโฆษ เป็นยอดของฉันท์
๓.กาพย์มหาชาติคำเทศน์ (ปัจจุบันเรียกว่า “ร่ายยาว”) เป็นยอดของกาพย์๔.กลอน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นยอดของกลอนสุภาพ
๕.บทละคร (รำ) เรื่องอิเหนาในรัชกาลที่ ๒ เป็นยอดของกลอนบทละคร (รำ)
๖.บทละคร (พูด) เรื่อง หัวใจนักรบในรัชกาลที่ ๖ เป็นยอดของบทละคร (พูด)๗.นิทาน เรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นยอดของความเรียงเรื่องนิทาน๘.อธิบาย เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ในรัชกาลที่ ๕ เป็นยอดของความเรียงอธิบาย
ต่อมาภายหลังได้มีการพิจารณาหนังสือที่แต่งดีขึ้นอีก ได้แก่
๑.กาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เป็นยอดของกาพย์เห่เรือ๒.พระอภัยมณีคำกลอน ของสุนทรภู่ เป็นยอดของกลอนนิทาน๓.สาวเครือฟ้า เป็นยอดของบทละครร้อง๔.มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพุดคำฉันท์
๑.ลิลิตพระลอ เป็นยอดของลิลิต
๒.ฉันท์สมุทรโฆษ เป็นยอดของฉันท์
๓.กาพย์มหาชาติคำเทศน์ (ปัจจุบันเรียกว่า “ร่ายยาว”) เป็นยอดของกาพย์๔.กลอน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นยอดของกลอนสุภาพ
๕.บทละคร (รำ) เรื่องอิเหนาในรัชกาลที่ ๒ เป็นยอดของกลอนบทละคร (รำ)
๖.บทละคร (พูด) เรื่อง หัวใจนักรบในรัชกาลที่ ๖ เป็นยอดของบทละคร (พูด)๗.นิทาน เรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นยอดของความเรียงเรื่องนิทาน๘.อธิบาย เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ในรัชกาลที่ ๕ เป็นยอดของความเรียงอธิบาย
ต่อมาภายหลังได้มีการพิจารณาหนังสือที่แต่งดีขึ้นอีก ได้แก่
๑.กาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เป็นยอดของกาพย์เห่เรือ๒.พระอภัยมณีคำกลอน ของสุนทรภู่ เป็นยอดของกลอนนิทาน๓.สาวเครือฟ้า เป็นยอดของบทละครร้อง๔.มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพุดคำฉันท์
คุยเฟื่องเรื่องวรรณกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น